ถึงนามบัตรจะมีขนาดเล็ก แต่การดีไซน์ และ การพิมพ์นามบัตรไม่ใช่แค่เรื่องเล็ก ในความเป็นจริงแล้วมันมีความยุ่งยากในการพิมพ์และออกแบบนามบัตรนี้ บามบัตรควรมีความดป็นมืออาชีพ เพราะเป็นหน้าตาของแบรนด์ หรือความน่าเชื่อถือของบริษัท และยังหนึ่งในแผนการตลาดของบริษัทคุณได้อีกด้วย ที Gogoprint หน้าที่ของเราคือการช่วยเหลือลูกค้าทุกคน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับการพิมพ์นามบัตรให้กับคุณลูกค้า

ไม่ต้องรอช้า เราไปดูข้อปฏิบัติและข้อควรระวังในการพิมพ์นามบัตรกันเลย

ข้อปฏิบัติ

ข้อที่ 1 ให้ความสำคัญการอ่านง่ายกับมากกว่าความสวยงาม

เราเข้าใจว่า ความเป็นมินิมอลเป็นที่นิยมเป็นอย่างมาก และ ทำให้งานออกมาเท่สุดๆ แต่ถ้าเกิดว่าเราออกแบบมันเล็ก จนทำให้ลูกค้าของคุณไม่สามารถเห็นข้อมูลบนบัตรของคุณได้ นามบัตรฏ้จะไม่มีค่าอะไร ดังนั้นการออกแบบนามบัตรควรให้ความสำคัญกับการง่ายง่าย มากกว่าอะไรทั้งสิ้น ดังนั้นมันจึงขึ้นอยู่กับการออกแบบของคุณไม่ว่าจะเป็น ฟ้อนด์(หรือตัวอักษร) ซึ่งขนาดไม่ควรเล็กว่า 6Pt (point) และอีกหนึ่งสิ่งที่อย่าลืม คือการเลือกฟ้อนที่บางเกินไปก็ทำให้ลูกค้าของคุณอ่านข้อความบนนามบัตรของคุณยาก เช่นกัน

และนอกเหนือจากฟ้อน ปัจจัยอื่น เช่น เส้น หรือ สี ก็เป็นหนึ่งในความความสำคัญ ที่สามารถส่งผลต่อ ผลลัพธ์ของการพิมพ์นามบัตร เช่นกัน และการใช้เส้นในการออกแบบ เราแนะนำเป็นอย่างยิ่งให้คุณใช้ ขนาดอย่างน้อย 0.25Pt (point) และควรเลือกใช้สีอย่างฉลาดเพื่อลูกค้าคนสำคัญของคุณ จะได้ไม่จำเป็นต้องเพ่งตา เพื่อที่จะเห็นข้อมูล บนนามบัตรของคุณ

 

ข้อที่ 2 ใช้สี CMYK เสมอในการออกแบบนามบัตร

เมื่อคุณพิมพ์นามบัตรแล้ว ผลลัพธ์ของสีออกมาไม่ตรงกับสีที่คุณตั้งใจไว้ ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการเลือกใช้สีระหว่างคุณออกแบบอาร์ตเวิร์คของคุณ การออกแบบอาร์ตเวิร์ค มีเลือกการใช้สีหลายโหมด แต่ส่วนใหญ่จะใช้เป็น RGB หรือ CMYK แต่ในงานพิมพ์มักจะใช้สี CMYK เสมอ ดังนั้นถ้าคุณใช้สีในโหมดอื่น เช่น RGB สีอาจจะออกมาไม่ตรงกับที่คุณต้องการ การใช้สี CMYK นั้น คือการวางซ้อนกัน ของสี่สี คือ สีน้ำเงินเขียว, สีแดงม่วง, สีเหลือง และสีที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือสีดำ ซึ่งมักจะส่งผลได้ดีที่สุดเมื่อพิมพ์ลงบนพื้นหลังสีขาว

ถ้าคุณ ต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสามารถเข้าไปอ่านได้ ใน อีกหนึ่งบล๊อกของเราและอย่างที่กล่าวไว้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ อย่าลืมตรวจสอบการใช้สีของคุณก่อน สั่งพิมพ์นามบัตรของคุณ!

 

ข้อที่ 3 ควร “เว้นระยะห่าง” ระหว่างข้อความ

นามบัตรที่ดี ข้อความก็ไม่ควรที่จะเบียดกันเกินไป ดังนั้น เราไม่ควรใส่ข้อมูลที่เยอะเกินไป เหมือนใส่เนื้อหาลงไปในหนังสือหนึ่งเล่ม อย่างคำพูดที่ว่า “น้อย แต่ มาก” ดังนั้น เราควรใส่ข้อมูลที่ตรงประเด็น เช่น ตำแหน่ง หรือ ช่องการติดต่อที่สำคัญ เท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่ช่องการติดต่ออื่นๆ ที่มากเกินไป เช่น โซเซี่ยวมีเดีย ของคุณ เพราะการยัดข้อมูลมากเกินไปในพื้นที่ที่เล็กๆ อาจจะทำให้บางคนทิ้งนามบัตรของคุณไปเลย เพราะฉนั้น ในนามบัตรของคุณ ก็ควรมีการ “เว้นระยะห่าง” ระหว่างข้อความ เช่นกัน ;)

 

ข้อที่ 4 อย่าลืมใส่ Bleed(ระยะตัดตก) ในงานของคุณ

จากบล็อกที่ผ่านมา เราเคยกล่าวถึงไว้ อาจจะครอบคลุมหัวข้อนี้ไว้แล้ว แต่ถ้าคุณยังงงว่า Bleed(ระยะตัดตก) คืออะไร เราก็มีคำตอบให้คุณเช่นกัน ในงามพิมพ์ Bleed คือส่วนพิเศษในการงานอาร์ตเวิร์คของคุณ เพื่อให้พริ้นเตอร์สามารถพิมพ์ผลงานของคุณออกมาได้ตรงแบบ โดยไม่ตกขอบ เพราะในการพิมพ์นั้น โปรแกรมของเครื่องพิมพ์จะพิมพ์ยากมากให้ตรงขอบเป๊ะๆ ดังนั้นการใส่ Bleed นั้นจึงจำเป็นมากเพื่อสร้างช่องว่าง เมื่อมีการตัดแต่งเกิดขึ้น สำหรับนามบัตร Bleed ที่ใส่ในการออกแบบนามบัตร คือขนาด 3มม. นับจากขอบของงานของคุณ

 

ข้อควรระวัง

ข้อที่ 1 การชิดขอบจนเกินไป

คุณคงรู้สึกกลัวถ้ายืนอยู่บนขอบของหน้าผ่า จนเกือบจะตก ซึ่งมันก็เกิดขึ้นในเนื้อหาในงานของคุณเช่นกัน หรือพูดง่ายๆ คืออย่าใส่เนื้อหาของคุณใกล้ขอบเกินไป และเหมือนกันกับ Bleed (ระยะตัดตก) ในงานก็ควรมี การใส่ Margins (ระยะตัดขอบ) เช่นกัน ก่อนพิมพ์งานอาร์ตเวิร์คของคุณ

อย่างที่เราได้กล่าวไป เรื่องการพิมพ์นั้นไม่สามารถพิมพ์ออกมาตรงได้ 100% ดังนั้นเป็นการเสี่ยงที่คุณจะใส่ข้อมูลของคุณใกล้ริมขอบงานจนเกินไป ตั้งนั้นควร ตั้งค่าระยะตัดขอบทุกด้านที่ 3 มม. ในงานนามบัตรของคุณ เพราะเนื่องมาจากว่าการขริบที่ไม่ตรงสามารถเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะอยู่ในระยะตัดตก หรือระยะตัดขอบ ตั้งนั้นการ ระยะตัดขอบเหมือนกับเป็นระยะที่ปลอดภัยที่จะวังไม่ให้เนื้อหาของคุณไม่ผิดพลาด เช่นการที่ทำให้ข้อมูลสำหรับบนนามบัตรของคุณตกขอบไป


ข้อที่ 2 การใช้โปรแกรมกราฟฟิคแบบเเรสเตอร์ (บิทแมท)

เป็นที่น่าเสียใจที่ความจริงแล้ว โปรแกรมอย่าง โฟโต้ชอป อาจจะไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดเสมอไป โปรแกรมอย่างโฟโต้ชอปมีอัดแน่นไปด้วยหลายฟังชั่นให้เราเลือกใช้ แต่เราไม่แนะนำคุณให้ใช้ในการออกแบบ นามบัตร เนื่องจากว่า ข้อความ หรือ โลโก้ ที่ดีไซน์ผ่านทางโฟโต้ชอป มักจะออกมาในรูปแบบของ แรสเตอร์ ซึ่งทำให้ ข้อความหรือโลโก้ของคุณมีผลลัพธ์ออกมาในแบบ พิกเซล ซึ่งถ้าคุณต้องการที่จะให้นามบัตรของคุณออกมาคมชัดที่สุด เราแนะนำให้คุณออกแบบโดยใช้โปรแกรมที่ใช้กราฟฟิกแบบเวกเตอร์ อย่างเช่น Adobe Illustrator, Indesign, Canva หรือ โปรแกรมอย่างเช่น ไมโครซอฟ Word หรือ Powerpoint ก็รองรับกราฟฟิคแบบแวกเตอร์ เช่นกัน

คุณสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบเวกเตอร์และเเรสเตอร์ (บิทแมท) ได้ที่บล็อกของเราเช่นกัน

 

ข้อที่ 3 ทำนามบัตรมาผิดขนาด

เราแนะนำคุณเป็นอย่างยิ่ง ในการสร้างงานอาร์ตเวิร์คของคุณ โดยเริ่มต้นที่ขนาดที่คุณต้องการที่จะพิมพ์ เพราะถ้าคุณเริ่มต้นที่ขนาดที่ผิดอาจจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คุณไม่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณออกแบบนามบัตรคุณในขนาด 8x5ซม. แต่จริงๆแล้ว คุณต้องการนามบัตรของคุณในขนาด 9x5.5ซม. ข้อความของคุณอาจจะมีการเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งเนื่องมาจากปรับเปลี่ยนขนาดโดยอัตโนมัติ โดยระบบของเครื่องพิมพ์ของเรา และอีกหนึ่งความผิดพลาดที่พบเห็นได้ทั่วไปคือ การตั้งขนาดนามบัตรของคุณใหญ่กว่าปกติ (เช่น ขนาด 90x55 ซม.) นี่ก็สามารถทำให้ภาพที่คุณตั้งใจเอาไว้เกี่ยวกับฟ้อนและกราฟฟิกของคุณบิดเบี้ยวไป

ดังนั้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความผิดพลาดระหว่างพิมพ์ ถ้านามบัตรของคุณต้องการขนาด 9x5.5ซม. คุณควรเช็ตขนาดในการออกแบบให้ถูกต้อง 9x5.5ซม. เป๊ะๆ ซึ่งนี่ก็สามารถนำไปใช้การออกแบบนามบัตรของคุณในขนาดอื่นๆเช่นกัน

 

ข้อที่ 4 การใช้กรอบ

เราเข้าใจว่า การที่มีกรอบบนนามบัตรของคุณก็สามารถสร้างความสวยงามให้แก่นามบัตรคุณได้ เช่นกัน แต่ถึงแม้จะสวยงามแค่ไหน แต่เราก็ไม่แนะนำ เพราะผลลัพธ์จากพิมพ์อาจจะออกมาไม่แม่นยำสักเท่าไหร่ เพราะการที่กระดาษในเครื่องพิมพ์ขยับนิดเดียว อาจจะทำให้ กรอบของคุณไม่อยู่ตรงกับจุดศูนย์กลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรา จะไม่ให้คุณใช้กรอบในการออกแบบนามบัตร เราไม่คิดที่จะขวางกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณอย่างแน่นอน แต่เราอยากให้คุณพึงรู้เอาไว้ว่า การได้มาซึ่งกรอบที่ดียิ่ง มักจะมากับภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ :)

 

หลายเรื่องน่าเศร้าจะเกิดขึ้น เมื่อเจอปัญหาที่เรากล่าวไว้ข้างบน และเราไม่อยากให้คุณเจอแบบนั้น ก่อนที่จะส่งพิมพ์นามบัตรกับเรา อย่าลืมดูงานอีกครั้ง หรือสามารถเข้าไปดู บล๊อกของเราเพื่อเช็คเทรนด์ล่าสุดในการออกแบบนามบัตร ให้สุดปัง!

ตอนนี้คุณเริ่มเข้าใจ ข้อปฏิบัติและ ข้อมควรระวัง สำหรับการทำนามบัตรแล้ว คุณสามารถเข้ามาเริ่มพิมพ์นามบัตรกับเรา ได้ที่ Gogoprint เพราะอย่าลืมหล่ะ! นามบัตรคือสิ่งที่สร้างความเป็นมืออาชีพให้กับตัวคุณ ;)